วันนี้เป็นวันที่สดใส อากาศที่บ้านอ้อม ณ วันที่เขียนบทความบอกเลยว่า แสงอาทิตย์ส่องสาดลงกระทบพุ่มใหม่ มีแสงรอดผ่านช่องจากพุ่มไม้ลงมาให้เห็นเป็นลำแสง ลมพัดเบาๆ อากาศไม่ร้อน ถ้าอากาศแบบนี้มีมาทุกวันก็คงดีเนาะ แหมๆ เกร็นมาซะชวนให้คนที่อยู่ในจุดที่อากาศร้อนนี่ต้องถามว่าอ้อมอยู่ที่ไหน บ้านอ้อมอยู่ที่ลำพูนจ้า แถวบ้านปลูกลำใยเป็นอาชีพหลักของบ้าน ทำให้อากาศที่นี่ค่อนข้างเย็นสบายน่ะค่ะ เข้าเรื่องกันเลย เรามาว่ากันถึงเรื่องไส้เดือนมีประโยชน์จริงหรือถึงวันนี้เราจะได้เรียนรู้กันในรายละเอียด วิธีการ และข้อมูลที่เราจะได้ศึกษานำไปเป็นความรู้เพื่อการตัดสินใจกัน สิ่งที่เราจะได้รู้ในรายละเอียดปลีกย่อยคือ การเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพ,วิธีเลี้ยงไส้เดือน ทําปุ๋ย,การ เลี้ยง ไส้เดือน ใน บ่อ ซีเมนต์ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เพราะเกริ่นมาซะยาวเราไปต่อกันในเนื้อหาต่อไปได้เลยจ้า
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยเฉพาะผลผลิตที่ได้คือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทำให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่ มีสารอาหารพืชสูงและพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตรเพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถางหรือเป็นวัสดุส าหรับปลูกพืชอื่นๆ อย่างหลากหลายหลักการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินการเลี้ยงไส้เดือนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยง ตั้งแต่แบบง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนน้อย ไปจนถึงการทำโรงเรือนผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูง เช่น เลี้ยงบนพื้นดินโดยทำกองเลี้ยงให้สูงจากพื้นเล็กน้อย หรือ ขุดร่อง เป็นแปลงลงบนพื้นดินปกติ หรือ ก่ออิฐฉาบปูนเป็นบล็อกเลี้ยงก็ได้ หรือถ้าผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่อาจสร้างโรงเรือนถาวร มีระบบการเลี้ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงการเก็บปุ๋ย สำหรับ หลังคากันแดด หรือ ฝน อาจทำด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น มุงด้วยหญ้าคา ใบจาก หรือ ตาข่ายพรางแสง (ซาแรน) ไปจนถึงการใช้หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงอายุใช้งานได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็ก ในครัวเรือน ซึ่งอาจประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก ยางรถยนต์ วงบ่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น
มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่าไส้เดือนมีประโยชน์จริงหรือ เป็นยังไงและมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ
ไส้เดือนมีประโยชน์จริงหรือ? |
ไส้เดือนมีประโยชน์จริงหรือ?
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยเฉพาะผลผลิตที่ได้คือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทำให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่ มีสารอาหารพืชสูงและพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตรเพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถางหรือเป็นวัสดุส าหรับปลูกพืชอื่นๆ อย่างหลากหลายหลักการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินการเลี้ยงไส้เดือนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยง ตั้งแต่แบบง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนน้อย ไปจนถึงการทำโรงเรือนผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูง เช่น เลี้ยงบนพื้นดินโดยทำกองเลี้ยงให้สูงจากพื้นเล็กน้อย หรือ ขุดร่อง เป็นแปลงลงบนพื้นดินปกติ หรือ ก่ออิฐฉาบปูนเป็นบล็อกเลี้ยงก็ได้ หรือถ้าผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่อาจสร้างโรงเรือนถาวร มีระบบการเลี้ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงการเก็บปุ๋ย สำหรับ หลังคากันแดด หรือ ฝน อาจทำด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น มุงด้วยหญ้าคา ใบจาก หรือ ตาข่ายพรางแสง (ซาแรน) ไปจนถึงการใช้หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงอายุใช้งานได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็ก ในครัวเรือน ซึ่งอาจประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก ยางรถยนต์ วงบ่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น
ขั้นตอนกำรเลี้ยงไส้เดือนโดยทั่วไป จะปฏิบัติได้ ดังนี้
- เลือกพื้นที่เรียบหรือไม่มีหินหรือเศษแก้วที่เป็นอันตราย นำดินร่วนปูพื้นกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 0.30 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และปริมาณของขยะ หรือของเสีย
- ให้ความชื้นกับพื้นวัสดุให้พอชื้นไม่ต้องแฉะ
- นำมูลวัวหรือเศษอินทรียวัตถุ โรยทับให้หนาประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วรดน้ำให้ความชื้นอีกครั้ง
- นำไส้เดือนท้องถิ่นมาปล่อยในกอง
- รดน้ำกองไส้เดือนทุกวัน
- ไส้เดือนจะกินเศษอาหารและมูลวัวแล้วถ่ายมูลเป็นขุยบนกองเลี้ยง เก็บมูลทุกๆ สัปดาห์แล้วนำมาตากในร่ม ไส้เดือน 1 กิโลกรัม จะผลิตขุยได้ประมาณ 10 กิโลกรัม ภายใน 45-60 วัน
- เมื่อวัสดุเพาะเลี้ยงหมดให้นำวัสดุเพาะเลี้ยงมาใส่ใหม่เหมือนขั้นตอนแรก
- โกยขุยไส้เดือนออกมากองข้างๆ กองเดิมและเมื่อกองวัสดุเพาะเลี้ยงเดิมเริ่มแห้ง ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ด้านใต้ของกอง
- เก็บส่วนบนของกอง 3 ใน 4 ส่วนของกอง แยกไส้เดือนแล้วใส่ไส้เดือนกลับไปในกองใหม่
- ควรเปลี่ยนกองทั้งหมดภายใน 6 เดือน ทั้งนี้เมื่อกองเพาะเลี้ยงเริ่มแน่น ไส้เดือนไม่สามารถชอนไชได้
- การเลี้ยงเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งปี ควรมีการสร้างกองไว้หลายๆ กองและเก็บข้อมูลสลับกันไปได้ทั้งปี
มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่าไส้เดือนมีประโยชน์จริงหรือ เป็นยังไงและมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น