อะไรคือไคติน?-เกี่ยวอะไรกับปุ๋ยชีวภาพ-ไคตินมีประโยชน์ยังไงเหรอ? |
ประโยชน์คืออะไร อธิบายแบบภาษาพูดให้เข้าใจง่ายๆ กันเลย
อะไรคือไคติน?-เกี่ยวอะไรกับปุ๋ยชีวภาพ-ไคตินมีประโยชน์ยังไงเหรอ?
ไคติน เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกแข็งที่หุ้มเซลล์ จะพบเป็นโครงสร้างส่วนที่แข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการนำไคตินมาใช้งานทั้งทางด้านอาหาร, ทางการแพทย์, สิ่งทอ, การเกษตร และวันนี้เราจะมาเน้นทางด้านเกษตรกันค่ะ ส่วนท่านใดที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมอาจจะเข้า Internet เพื่อสืบค้นต่อยอดก็สามารถทำได้จ้าทางด้านการเกษตรไคตินจะใช้ในการทำปุ๋ย ช่วยตรึงไตโตรเจนจากอากาศ และช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการนำแร่ธาตุของพืช ลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีอื่นทางการเกษตร
ทั้งนี้ยังมีประโยชน์ทางด้านปศุสัตว์โดยจะใช้ผสมในอาหารเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมคุ้มกัน ลดการติดเชื้อ ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวของสัตว์เพิ่มขึ้น ยังไม่หมด ไคตินยังมีประโยชน์มากกว่า โดยสามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้อีกด้วย
เอาล่ะเล่ามาซะเยอะแล้วคราวนนี้จะไปดูกันว่านอกจาหาซื้อมาไว้ใช้แล้วเรายังสามารถทำขึ้นมาใช้เองได้อีกด้วยนะคะ
เนื้อหาเหล่านี้เอามาจากหนังสือ 100 สูตรมหัศจรรย์ ปุ๋ยชีวภาพ โดยบุญลือ สุขเกษม วัตถุดิบจะมีดังนี้ค่ะ
- - หัวกุ้ง,เศษกุ้ง ทุกชนิด
- - ชิ้นส่วนปูทุกชนิด
- - น้ำส้มสายชู 5%
ขั้นตอนการทำไคตินมีดังนี้ค่ะ
นำหัวกุ้ง, เศษชิ้นส่วนกุ้งและปูมาใส่ภาชนะเช่นขวด โหล เอาให้เต็มเลยนะคะ หลังจากนั้นเทน้ำส้มสายชูลงไปให้เต็มพอดี ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 45 วัน จากนั้นเทน้ำเอาไปใช้ในอัตราส่วน 40 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรส่วนกากที่เหลือสามารถนำไปใส่โคนต้นไม้ 1 กำมือต่อต้นช่วยให้แคลเซียมแก่พืชและป้องกันการติดเชื้อ
เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับบทความเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพในครั้งนี้ ครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ไคโตซานกันค่ะ ถ้ามองจากวัตถุดิบ จริงๆ แล้วเราสามารถหาได้ตามท้องตลาด หรือท้องถิ่นเราค่ะ ลองนำมาปรับใช้ดูเพราะประโยชน์และสรรพคุณสุดยอดจริงๆ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนไปเยอะแน่นอนจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น