แต่ก่อนที่เราจะไปถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการผสม และการทำปุ๋ยใช้เอง เราอาจจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพืชสักหน่อย เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ทุกชนิดต้องการความสมดุลของดิน และบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก โดยธาตุอาหารพืช หรือธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญ และการ
สิ่งควรรู้ก่อนทำปุ๋ยชีวภาพ
พัฒนาการของพืชจะประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ โดยจะคิดเป็นร้อยละโดยประมาณดังนี้- ธาตุ O ออกซิเจน 45%
- ธาตุ Mg แมกนีเซียม 0.3%
- ธาตุ C คาร์บอน 44%
- ธาตุ B โบรอน 0.005%
- ธาตุ H ไฮโดรเจน 6%
- ธาตุ CI คลอรีน 0.015%
- ธาตุ N ไนโตรเจน 2%
- ธาตุ Cu ทองแดง 0.001%
- ธาตุ P ฟอสฟอรัส 0.5%
- ธาตุ Fe เหล็ก 0.02%
- ธาตุ K โพแทสเซียม 1.0%
- ธาตุ Mn แมงกานีส 0.05%
- ธาตุ Ca แคลเซียม 0.6%
- ธาตุ Mo โมลิบดีนัม 0.0001
- ธาตุ S กำมะถัน 0.4%
- และธาตุ Zn สังกะสี 0.01%
ธาตุ O ออกซิเจน
เป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการหายใจ. กระบวนการหายใจ สร้างสารให้พลังงาน ATP จากการใช้น้ำตาลที่ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสง
พืชสร้างออกซิเจนขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อที่จะสร้างน้ำตาล แต่พืชก็ใช้ออกซิเจนในการกระบวนการหายใจเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็น ATP
"ATP(adenosine triphosphate) อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต เป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสง หรือการหายใจระดับเซลล์และถูกใช้ โดยกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สลายอาหาร , active transport ,move"
ธาตุ Mg แมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้าง ATP โดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).
ธาตุ C คาร์บอน
คาร์บอนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช เช่น แป้ง และ เซลลูโลส. พืชได้รับคาร์บอนมากจากการสังเคราะห์แสงโดยรับ คาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ และส่วนหนึ่งก็ถูกแปลงเป็นคาร์โบไฮเดรตสำหรับสะสมพลังงานธาตุ B โบรอน
โบรอนทำหน้าที่สำคัญช่วยในการเชื่อมต่อของเพกตินเข้ากับRGII regionของผนังเซลล์หลัก และโบรอนยังทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล ในการแบ่งเซลล์ และในสร้างเอนไซม์หลายๆชนิดการขาดโบรอนในพืชทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วนในใบใหม่และการชะงักการเติบโตของพืช
ธาตุ H ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างน้ำตาลและการเติบโตของพืช. พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำธาตุ CI คลอรีน
คลอรีนมีความสำคัญในกระบวนการออสโมซิส (osmosis) และ การรักษาสมดุลของประจุ และยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงด้วยธาตุ N ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนทุกชนิดการขาดไนโตรเจนในพืช ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงออกมาโดยการชะงักการเติบโตของพืช การเติบโตช้า หรือว่าแสดงอาการใบเหลือง (chlorosis). ทั่วไปแล้ว ไนโตรเจนจะถูกดูดซึมเข้าทางดินในรูปของไนเตรต(NO-3)
แต่หากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป ใบเขียวเข้ม อาจเสี่ยงกับอาการโคนต้นงอ (lodging) หรืออ่อนแอต่อภาวะแล้ง โรคพืช และแมลง; พืชอาจไม่ค่อยให้ผล
ธาตุ Cu ทองแดง
ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงการขาดทองแดงในพืชทำให้พืชแสดงอาการเหลือง (chlorosis)
ธาตุ P ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในระบบพลังงานของพืช เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ATP.การขาดฟอสฟอรัสในพืช จะแสดงให้เห็นจาก การที่ใบพืชมีสีเขียวเข้มจัด ถ้าขาดรุนแรงใบจะผิดรูปร่างและแสดงอาการตายเฉพาะส่วน
แต่หากพืชได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดจุลสารอาหาร เช่น เหล็ก หรือ สังกะสี
ธาตุ Fe เหล็ก
เหล็กมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์อีกด้วยการขาดเหล็กในพืช อาจทำให้เกิดอาการเหลืองตามเส้นใบ และ การตายเฉพาะส่วน
ธาตุ K โพแทสเซียม
โปแตสเซียมมีบทบาทในการควบคุมการเปิดปิดของรูใบสโตมา (Stoma) ดังนั้นโพแตสเซียมจึงช่วยลดการคายน้ำจากใบและเพิ่มความต้านทานสภาพแล้ง-สภาพร้อน-สภาพหนาวให้กับพืชได้การขาดโปแตสเซียมในพืช อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน หรือเกิดการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis) โพแตสเซียมสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้อาจชะล้างออกไปจากดินโดยเฉพาะพื้นที่ลักษณะเป็นหินหรือทราย
แต่หากพืชได้รับโพแทสเซียมมากจนเกินไป พืชที่ได้รับโปแตสเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียม หรืออาจขาดแคลเซียมด้วย
ธาตุ Mn แมงกานีส
แมงกานีสมีความสำคัญในการสร้างคลอโรพลาสต์การขาดแมกกานีสในพืช ทำให้พืชมีสีผิดเพี้ยน เช่น การมีจุดด่างบนใบ
แต่หากพืชได้รับแมงกานีสมากเกินไป ใบอ่อนจะเหลืองระหว่างเส้นใบ; ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
ธาตุ Ca แคลเซียม
แคลเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิดการขาดแคลเซียมในพืช มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
หากพืชได้รับแคลเซียมมากเกินไป พืชที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียมหรือโปแตสเซียม
ธาตุ Mo โมลิบดีนัม
โมลิบดีนัมเป็นโคแฟกเตอร์ที่สำคัญสำหรับเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างกรดอะมิโนธาตุ S กำมะถัน
กำมะถันเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของกรดอะมิโนและไวตามีนหลายชนิด และจำเป็นในการกระบวนการสร้างคลอโรพลาสต์.หากพืชได้รับกำมะถันมากเกินไป ใบจะร่วงก่อนเวลา
และธาตุ Zn สังกะสี
สังกะสีเป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).การขาดสังกะสีในพืช โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน
อ้างอิงข้อมูลจาก th.wikipedia.org
คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพืช ซึ่งพืชได้รับธาตุทั้งสามนี้จากน้ำ และอากาศ ที่เหลืออีก 14 ธาตุ พืชจะได้รับมาจากดิน
จากข้อมูลเบื้องต้นที่อ้อมได้อธิบายไป อาจจะเป็นข้อมูลที่อิงวิชาการไปสักนิดนะคะ แต่เพราะว่าการที่เราจะทำปุ๋ยให้พืชที่เราอุตส่าฟูมฟัก เลี้ยงดูมา หากผิดพลาดไปนิดเดียวก็อาจจะทำให้เสียหาย และเสียโอกาสได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะทำปุ๋ยขึ้นมาเพื่อใช้งานเอง เราควรรู้ว่าพืชของเราต้องการสารอาหารประเภทใด และมากน้อยแค่ไหน อย่างที่อ้อมได้เขียนอธิบายไว้แล้วข้างบนว่า หากขาดจะเกิดอะไรขึ้น และหากมีมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น
คำถามต่อไปที่อาจจะเกิดขึ้นในใจของเรา แล้วสภาพแบบไหนเหมาะหรือไม่เหมาะ จะดูยังไงละทีนี้
มาถึงขั้นตอนการทดสอบวัตถุดิบก่อนทำปุ๋ย เราจะใช้วัตถุดิบคือ น้ำส้มสายชู 5% บางคนอาจจะงง กับตัวเลข จะรู้ได้ไงว่าอันไหน 5% ไม่ต้องตกใจนะ ไปหาซื้อตามร้านค้าเขาจะเขียนบนฉลากที่ติดข้างขวดค่ะ ตัวเลขชัดเจนมีหลายยี่ห้อจ้า
งานนี้เราจะทดสอบวัถุดิบก่อนทำปุ๋ย กับตัวอย่าง 2 ตัวอย่างนะคะ
ตัวอย่างที่ 1 ทดสอบกับปูนขาว ขั้นตอนการทดสอบ เพียงใส่ปูนขาวลงไปในน้ำส้มสายชู 5% หากมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นโดยจะสังเกตเห็นฟองเดือด ให้รู้ไว้เลยว่า เราไม่ควรนำปูนขาวไปใช้กับพืช หรือการทำปุ๋ย
ตัวอย่างที่ 2 ทดสอบกับดิน ให้เทน้ำส้มสายชู 5% ลงในชาม หรือถ้วยใส หรือแก้วใส ไม่ต้องมากก็ได้ค่ะ เอาแค่พอประมาณ จะค่อนแก้วหรือครึ่งแก้วก็ได้ หลังจากนั้น ให้เราไปนำดินบริเวณที่เราจะปลูกพืชมาใส่ลงไปในพาชนะที่เตรียมไว้ หากไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้น เช่นมีฟองเกิดขึ้น เราก็สามารถใช้ดินนั้นปลูกพืชได้สบายๆ เลยค่ะ
อย่างที่อ้อมเกริ่นไว้แต่แรกว่าการจะปลูกพืชเราต้องรู้ว่าสภาพดิน และสภาพบรรยากาศมีความเหมาะสม และคงตัวเท่านั้น ที่พืชและสัตว์จะเจริญเติบโตได้ด้วยดี
หากสภาพดิน หรือสารไม่คงตัว ต้องทำให้คงตัวเสียก่อนจำสามารถนำมาทำปุ๋ยชีวภาพได้ค่ะ
การปรับสภาพดิน
การปรับสภาพดินก็มีหลากหลายกรณี โดยจะแยกออกดังนี้1. ดินเปรี้ยว ควรดูว่าสภาพดินเปรี้ยวมากหรือน้อย หากดินเปรี้ยวน้อย วิธีการคือ เปิดน้ำเพื่อให้ขังในพื้นที่เป็นเวลานานๆ และเปิดออกก่อนมีการเพาะปลูก เท่านี้ก็จะช่วยได้ค่ะ แต่หากมีอาการหนัก ควรมีการใช้ปูนขาว หินปูนบด นำไปผสมคลุกเคล้ากับหน้าดินในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยลดความเป็นกรดได้ค่ะ
2. ดินที่เค็ม
- - หากเป็นดินเค็มจากน้ำทะเล ควรมีการจัดการให้เหมาะกับดิน โดยการปลูกป่าชายเลน, ทำนาเกลือ,เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรืออาจจะสร้างเขื่อนเพื่อปิดกั้นน้ำทะเลเพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกอย่างถาวร และปลูกพืชสวนไม้เค็ม
- - หากเป็นดินเค็มจากสภาพพื้นที่ โดยจะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจจะต้องปรับสภาพให้เหมาะกับพื้นที่โดยการปลูกพืชที่ปรับสภาพได้กับดินเค็ม หรืออาจจะใช้วัสดุเพื่อปรับปรุงดิน เช่นแกลบ เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างดิน หรือจะใช้วิธีการปลูกข้าวที่มีอายุต้นข้าวมากกว่าปกติ ซึ่งสภาพดินเค็มควรระวังเรื่องการทำให้ดินมีผลกระบต่อการที่จะทำให้เกลือแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น
3. ดินทรายจัด ควรมีการบำรุงดินอย่างต่อเนื่องด้วยปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และปริมาณธาตุอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของพืช
4. ดินตื้น ควรมีการปรับปรุงดินด้วยการไถกลบพืช ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือจะใช้วิธีการขุดหลุมปลูกไม้ผล และปรับปรุงหลุมด้วยหน้าดิน โดยไม่ให้มีก้อนกรวด หรือดินลูกรังผสม ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ขอบคุณรูปประกอบจาก pinterest.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น