สวัสดีจ้า มาอีกแล้วกับสาระดีๆ ไอเดียเด็ดๆ ของบล็อค หลากหลายสูตรวิธีทำปุ๋ยชีวภาพ ณ วันที่เขียนบทความนี้ เราทั้งคู่หมายถึงคุณรุ่งและตัวอ้อมเองก็ยังคงหมั่นค้นหาไอเดีย วิธีการใหม่ๆ เพื่อมาแนะนำ แน่นอนเราจำแนกแยกแยะออกเป็นบล็อคย่อยๆ หลายบล็อคเพื่อการต่อยอด และการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง สิ่งที่ทำให้เราทั้งคู่อยากจะนำสาระ ความรู้ที่ได้ออกมาแชร์ เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไปไวมาก หลายๆ คนกำลังค้นหาความรู้ ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเพื่อนำไปต่อ
ยอด อย่างเช่นเรื่องนี้ ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยหมักชีวภาพ,ปุ๋ยพืชสด ก็อยู่ในความสนใจของหลายๆ คน แน่นอนจ้า วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ เป็นเรื่องนึงที่หลายๆ อาจจะกำลังค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปสารต่อ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราไปเริ่มกันเลยเนาะ
มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่า ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ เป็นยังไงและมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ
ยอด อย่างเช่นเรื่องนี้ ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยหมักชีวภาพ,ปุ๋ยพืชสด ก็อยู่ในความสนใจของหลายๆ คน แน่นอนจ้า วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ เป็นเรื่องนึงที่หลายๆ อาจจะกำลังค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปสารต่อ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราไปเริ่มกันเลยเนาะ
ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ |
ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าจุดวิกฤต คือน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในสภาพภูมิอากาศ ในเขตร้อนชื้นจึงมีอัตราการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอย่างเพียงพอหรือปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินน้อยกว่าอัตราการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดิน ความลาดเทของพื้นที่ และประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินสูง และการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกหลักการอนุรักษ์ดิน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินลดลงอย่างรวดเร็ว
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ดิน จึงเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยยกระดับของอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มธาตุอาหารพืชสะสมไว้ในดิน ซึ่งเป็นวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ในขั้นต้น ดังนี้
- 1. ไม่เผาตอซัง การเผาตอซัง เป็นการทำลายสภาพแวดล้อม ทำให้มลภาวะเป็นพิษ ,ทำลายปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้โครงสร้างของดินจับตัวกันแน่น แข็งกระด้าง จุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ในพืชถูกทำลาย สูญเสียธาตุอาหารพืชและสูญเสียน้ำในดิน ทำให้ดินแห้ง ฉะนั้นเกษตรกรจะต้องไม่เผาตอซังโดยเด็ดขาด
- 2. การใช้ปุ๋ยคอก ,ปุ๋ยหมัก บำรุงดิน
- ปุ๋ยคอก คือมูลสัตว์ที่ขับถ่ายออกมาเป็นส่วนที่ร่างกายได้ย่อยสลายอินทรีย์สารไปแล้ว มูลสัตว์เหล่านี้จึงมีคุณค่าทางสารอาหารแก่พืช
- ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า เศษอาหาร ขยะสด เป็นต้น
3. การใช้ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยพืชสด หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากต้นพืชและใบสดที่ปลูกเอาไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อสับ-ตัด-กลบ หรือทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพังหมดแล้วจะให้ธาตุอาหารพืช และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุลงไปในดินซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้ดีที่สุด คือ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่มดำ ,ถั่วพร้า, ถั่วเขียว, ปอเทือง และโสนแอฟริกัน ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลรักษาง่าย และเมื่ออายุพืชที่เพาะปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดครบกำหนด คือช่วงระยะเวลาออกดอก ให้ทำการไถกลบ ก็จะได้ปุ๋ยพืชสดประมาณ 1-2 ตัน ต่อไร่ ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มปุ๋ยให้แก่ดินได้เร็ว จำนวนมาก ราคาถูก
4. การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น(จุลินทรีย์)ที่ทำประโยชน์ให้แก่ดินและพืช ซึ่งสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวการทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี ปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำให้เกษตรกรทำนี้ เป็นปุ๋ยชีวภาพที่สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องซื้อ ใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ของสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี ซึ่งนายคิว ฮานโซ นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลีพัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว และได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นการนำจุลินทรีย์ในพื้นที่ (ไอเอ็มโอ : I.M.O.) มาเพาะเลี้ยงให้แข็งแรง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ ปุ๋ยชีวภาพมี 2 ประเภท คือ ปุ๋ยน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ) และปุ๋ยแห้ง(ปุ๋ยหมักชีวภาพ)
- ปุ๋ยน้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ
- น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่)
- น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ)
- สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)
- ปุ๋ยแห้ง (ปุ๋ยหมักชีวภาพ) คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำหมัก-ชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่า ปุ๋ยอินทรีย์ทำเองลดต้นทุนได้กำไรเต็มๆ เป็นยังไงและมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น