เปิดประเด็นก็ว่ากันถึงเรื่อง ปลูกกระชายดำ ดูแลง่าย ได้กำไรดี แน่นอนจ้าวันนี้เราจะมาพูดถึง กระชายดํา สรรพคุณ,การปลูกกระชายดำ,กระชายดํา สำหรับบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องพื้นๆ แต่สำหรับหลายๆคน นี่คือเรื่องที่พึ่งจะรู้ว่ามีอยู่จริงๆ หรือทำได้จริงๆ สิ่งเหล่านี้เราไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะมือใหม่ที่พึ่งเข้ามา ต้องเก็บไว้เป็นข้อมูล ไว้อ้างอิงในอนาคต เผื่อเจอกรณีที่ต้องทำจะได้นำไปอ้างอิงหรือเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้
รูปจาก : pinterest.com ใช้ประกอบบทความ ปลูกกระชายดำ ดูแลง่าย ได้กำไรดี เท่านั้น |
ปลูกกระชายดำ ดูแลง่าย ได้กำไรดี
กระชายดำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ ตามบริเวณป่าดิบร้อนชื้น แหล่งปลกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป คือ เขตปลูกอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ป็จจุบันปลูกมากในเขตจังหวัดเลย เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูก สูงมากจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งอื่นๆ ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parvifloraลักษณะทางพฤกษคาสตร์
กระชายดำแตกต่างจากกระชายทั่วไป (ที่ใช้เป็นเครื่องแกง) คือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็น ราก(tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า (ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดิน ส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหัว ลักษณะคล้ายขิงหรือขมิ้น แต่มีขนาดเล็กกว่าใบใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่ากระชายทั่วไป ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยกาบใบมีสีแดงจางๆ และหนาอวบ กำเนิดมาจากหัว ที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยง ดอกมีสีชมพูอ่อนๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน หัวมีสีเข้มแตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความแตกต่าง ของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมา พันธุ์ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสี ของเนื้อหัว เนื่องจากกระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดี มีคุณภาพ จะต้องปลูก บนพื้นที่ที่สูงจากระดับนํ้าทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการ ระบายนํ้าดี ไม่ชอบนํ้าขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่าง แถวไม้ยืนต้น แตกยังไม่มีข้อมูล ยืนยับว่าปลูกกลางแจ้งกับปลูกในที่ร่มรำไรมีผลแตกต่างกันอย่างไร ทั้งใน ด้านคุณภาพและการเจริญเติบโต
การปลูกกระชายดำ
การเตรียมพันธุ์ปลูกกระชายดำ
โดยการใช้หัวแก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น นานประมาณ 1-3 เดือน ก่อนเก็บรักษาควรจุ่มหัวพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยใช้โฟลาแทน 80 หรือ แมนเซ็ทดี ผสมนํ้าอัตรา 2-4 ช้อนแกง/นา 20 ลตร (1 ปีบ) ในพื้นที่ 1 ไร่จะใช้หัวพันธุ์ประมาณ 200-250 กิโลกรัม ขึ้นกับระยะปลูก และขนาดของหัวด้วย การเลือกหัวพันธุ์ควรจะใช้พันธุ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากในนํ้าหนักที่เท่ากันกับหัวขนาดใหญ่ หัวขนาดเล็กจะปลูกได้ มากกว่าและควรเลือกหัวพันธุ์ที่มีสีดำหรือม่วงเข้ม ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด
ฤดูปลูกกระชายดำ
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม กระชายดำ จะมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือนการเตรียมดินกระชายดำ
ก่อนที่จะมีการไถเตรียมดิน ควรหว่านปูนขาวในอัตรา 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ ในดิน หลังจากนั้นจึงไถกลบปนขาวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรอาจไถใช้หัวพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้วแยกหัวโดยหักออกเป็นข้อๆ ตามรอยต่อระหว่างหัว รงกลบดินให้มิดแต่ ไม่ลึกนัก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว X ระหว่างหลุม 0.20 X 0.25 เมตร หรือ 0.25 X 0.30 เมตร ปลูกเสร็จแล้วใช้แกลบหวานกลบบางๆ อีกชื้นหนึ่ง
การดูแลรักษากระชายดำ
การใส่ปุ๋ยกระชายดำ
ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพื้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ หากดิน มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว อาจใช้แกลบที่ไต้จากการรองพื้นเล้าไก่ก็เป็นการเพียงพอ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี การกำจดวัชพืช วัชพืชในไร่กระชายไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เนื่องจากกระชายมีระยะปลูกกี่ใบ สามารถคลุมดิน ป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืชได้ดี หากมีความจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดจากแปลง การเก็บเกี่ยวอายุเก็บเกี่ยวของกระชายดำ ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงนี้ สังเกตดูใบจะเริ่มแก่มีสีเหลืองและแห้งตายลงในที่สุดการเก็บเกี่ยวเร็วก่อนกำหนด จะมีผลต่อคุณภาพโดยเฉพาะของหัวจะไม่เข้ม ซึ่งเป็นกระชายดำที่ ตลาดต้องการ (แต่อย่างไรก็ตามอายุการเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อสีของหัวกระชายมากน้อยเพียงใดยังไม่มี รายงานอย่างเป็นทางการ)
การขุดหัวกระชายดำ
ถ้ายกเป็นแปลงตอนปลูก จะเก็บเกี่ยวได้ง่าย โดยใช้จอบหรือเสียม ขุดหัวขึ้นมาแล้วเคาะดินให้ หลุดออกจากหัวและราก เกษตรกรนิยมนำหัวกระชายที่ขุดได้ใส่ลุง แล้วนำไปทำความสะอาดที่บ้าน โดยการปลิดราก ออกจากหัวให้หมดให้เหลือแต่หัวล้วนๆ (ส่วนรากหรือนมกระชายที่ปลิดออกจากหัวสามารถ นำไปจำหน่ายให้พ่อค้าได้)ผลผลิตกระชายดำ
โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กิโลกรัม ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม สรรพคุณยาในปัจจุบัน กระชายดำจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค และวงการแพทย์แผนไทย เพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการ แต่จากประสบการณ์ของผู้ไซ้กระชาย มีรายงานว่าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุง หัวใจ แค้ใจสั่น แก้บิด แก้ปวดข้อ แก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก แก้แผลในปาก ทำให้โลหิตหมุนเวียนดีฃี้น ผิวพรรณผุดผ่อง สดใส ขับปัสสาวะ แค้โรคกระเพาะ และปวดท้อง เป็นต้น แต่ที่กล่าวกันมาก คือ บำรุง จึงได้ฉายาว่า โสมไทย (โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง, 2539)การแปรรูปกระชายดำ
ในปัจจุบันนอกจากใช้กระขายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผงบรรจุซอง ชงนํ้าร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิดความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุด ในป็จจุบัน คือ ทำไวน์กระชายดำ กระชายดำแบบหัวสด การรับประทาน ใช้รากเหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาว ดื่มก่อน รับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี. ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับนํ้าผี้งก็ได้ในอัตราส่วน 1:1 กระชายดำหัวแห้งกรรมวิธีการผลิต การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตอบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูงจนแห้งได้ที่แล้วจึงนำมาเก็บไว้ ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน การรับประทาน : หากไม่ใช่คอเหล้าที่ มักนิยมนำไปดองกับเหล้าขาว ก็มักหั่นเป็นชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับนํ้ารับประทาน บางตำราบอกให้ นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสดไปดองกับนํ้าผึ้งแท้ 7 วัน นำมาดื่มก่อนนอน อาจจะนำมาป็นเป็นลูกกลอน ก็ได้
รายละเอียดกระชายดำ
- หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมนี้าผึ้งเพื่อรสขาติที่ดีขึ้น ได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก)
- หัวแห้ง ดองกับนํ้าผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1
- หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียดผสมนํ้าผึ้ง พริกไทยปน กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน
กระชายดำแบบชาชง
กรรมวิธีการผลิต : นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบขาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้นวิธีใช้กระชายดำ
- กระชายดำ 1 ซอง ชงนํ้าร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)
- หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยนํ้าตาล หรือนํ้าผึ้งตามชอบใจ
ลูกอมกระชายดำ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย ร่วมกับกลุ่มโซนศรีสองรัก ได้จัดทำผลิตกัณฑ์ ลูกอมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ นาแห้ว จงหวัดเลย ส่วนประกอบ
- กระชายดำ
- นมสด
- เนยอย่างดี
- นํ้าตาลทราย
- แบะแซ
สำหรับเรื่อง ปลูกกระชายดำ ดูแลง่าย ได้กำไรดี มาถึงตรงนี้คงเข้ากันแล้วเนาะ ว่ามีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง หากจะพูดถึงเรื่องราวเหี่ยวกับ สรรพคุณ,การปลูกกระชายดำ,กระชายดํา เราคงต้องดูกันยาวๆ มีหลายบทความที่ควรค่าแก่การนำมาแชร์ บอกต่อกัน เพื่อเป็นแนวทาง และเส้นทางให้เราเลือกและสามารถนำไปสานต่อกันได้อีก สำหรับครั้งนี้คงต้องขอตัวไปต่อยอดในเรื่องราวอื่นๆ ก่อนนะคะ ได้ผลยังไง หรือมีเทคนิค สาระดีๆ อะไรเพิ่มเติมก็จะมาบอกเล่าให้ฟังเช่นเคยจ้า ฝากติดตามกันด้วยนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น