รายละเอียดข้อความ สั้นๆ เป็นคำเชิญชวน:
อัพโหลดรูป
เปลี่ยนรูป

อัพโหลดรูป
เปลี่ยนรูป

กรุณากรอกข้อมูลสำหรับการโพสลงเฟสบุ๊คกลุ่ม

หัวข้อสินค้าที่ 1 (ต้องมี):
[ + เพิ่มหัวข้อสินค้า ]
รายละเอียดโปรโมทชั่น (ไม่ควรเกิน 200 คำ):
[ + เพิ่มช่องกรอกรายละเอียดสินค้า ]
กรุณาระบุ URL เว็บฯไซต์ หรือสินค้าที่เกี่ยวกับโปรโมชั่น:
คลิกดูคำแนะนำ
  • 1. การใส่ URL ควรเป็น URL หน้าร้านเท่านั้น และ URL หน้าร้านที่นำมาโปรโมท จะต้องไม่อยู่ระหว่างการซื้อโฆษณาเพิ่มยอด LIKE
  • 2. หากต้องการใส่ URL สินค้าภายในร้าน ไม่ควรเป็น URL สินค้าที่กำลังซื้อโฆษณาอยู่ เพราะเฟสบุ๊คจะไม่ยอมให้โพส
  • 3. หากพบปัญหา URL ใช้โปรโมทไม่ได้ เพราะเฟสบุ๊คบอกว่าเป็น URL ไม่ปลอดภัย และคุณยังต้องการโปรโมทสินค้าชิ้นนี้ ให้ใส่ - แทนในช่องนี้
ราคา (ถ้าโพสขายต้องมี และไม่ต้องใส่คอมม่า ','):
อัพโหลดรูป(อัพโหลดได้สูงสุด 4 รูป)
เปลี่ยนรูป

เปลี่ยนรูป

เปลี่ยนรูป

เปลี่ยนรูป

หากคุณได้เพิ่มข้อมูลเข้าระบบครบตามต้องการแล้ว กรุณากดปุ่ม Continue บนแผงควบคุมไอมาโครเพื่อให้ระบบทำงานต่อจ้า

กรุณากรอกข้อมูลการติดต่อสำหรับการโพสลงแฟนเพจ
และเฟสบุ๊คกลุ่มของคุณ

กรุณาระบุ URL สำหรับให้ลูกค้า Inbox ผ่านหน้าแฟนเพจ ถ้าไม่มีให้พิมพ์ - :
  • ตัวอย่าง: URL สำหรับอินบ็อค จะมีลักษณะแบบนี้ -->> https://www.facebook.com/messages/asiastreetfashion59
กรุณาระบุเบอร์โทรที่ต้องการให้ลูกค้าติดต่อ ถ้าไม่มีให้พิมพ์ -
กรุณาระบุ URL เว็บฯไซต์ของทางร้าน ถ้าไม่มีให้พิมพ์ -
กรุณาระบุอีเมลล์ที่ต้องการให้ลูกค้าติดต่อ ถ้าไม่มีให้พิมพ์ -
กรุณาระบุ LINE ID ที่ต้องการให้ลูกค้าติดต่อ ถ้าไม่มีให้พิมพ์ -
อัพโหลดไฟล์ .csv
Please wait iMacro will be start again.
Auto Restart Your iMacros

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้เหนื่อยยังไง๊! ก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก

ว่าด้วยเรื่อง ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้เหนื่อยยังไง๊! ก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก ที่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามหรือยังไม่รู้กัน ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ฉุกให้คิดไปว่า ทำไมถึงได้เร็วอย่างนี้ บอกเลยว่าบางครั้งอ้อมเองก็ปรับตัวตามแทบไม่ทัน เมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แม่ค้าอ้อมคนนี้ กับแม่ค้าอ้อมในวันนั้น (หมายรวมถึงคุณรุ่งด้วยนะคะ) บอกเลยว่าเหมือนคนละคน จากคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร  มองโลกการทำงานออนไลน์ในมุมลบมาตลอด จากคนที่เลิกงานแล้วพักผ่อน อยากกินอะไรก็กิน กลับกลายเป็นต้องอดทนนั่งศึกษาเพื่อเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้า ถ้าเปรียบเทียบกับยุคแรกๆ ข้อมูลหายากมากๆ ต้องอาศัยการปะติดปะต่อข้อมูลกันเอาเอง ลองผิดลองถูกเยอะมากๆ มาวันนี้จากคนที่อึดอัดกับการหาข้อมูลยากมาวันนี้ อ่านอะไร เจออะไร ก็อยากจะนำออกมาแชร์เพื่อให้เห็นภาพ และศึกษาต่อยอดกัน ดังเช่นบทความที่อ้อมจะได้แนะนำกันวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่อง ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้ตายก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับเรื่องเหล่านี้ ปุ๋ยหมัก,การแปรสภาพของเศษพืชไปเป็นปุ๋ยหมัก,วัสดุที่ใช้หมักปุ๋ยชีวภาพ เกริ่นกันมาพอสมควร เดี๋ยวเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยจ้า
ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้ตายก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก
ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้ตายก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก

ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้ตายก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายและการแปรสภาพของเศษพืช

การแปรสภาพของเศษพืชไปเป็นปุ๋ยหมักจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ภายในกองปุ๋ย และการเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณของ จุลินทรีย์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญๆ ดังนี้

1. ชนิดและขนาดของวัสดุที่ใช้หมัก 

วัสดุที่สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้แก่เศษซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ แต่โดยปกติแล้ว ใน บ้านเราส่วนใหญ่จะได้มาจากพืชมากกว่า ดังนั้น วัสดุที่ใช้หมักจึงเพ่งเล็งไปถึงการใช้เศษซากพืชเป็นสำคัญ ซึ่งก็มีอยู่มากมาย หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการ เกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ต้นถั่ว ฝ้าย เศษผัก กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ผักตบชวา เศษหญ้า หรือวัชพืชต่างๆ แม้แต่พวกเศษขยะตามอาคารบ้านเรือน เช่น เศษกระดาษ ใบตอง กิ่งไม้ไบไม้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถรวบรวมมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งสิ้น วัสดุเหล่านี้เมื่อนำมา ทำปุ๋ยหมัก บางชนิดก็ย่อยสลายได้ง่าย รวดเร็ว บางชนิดก็ย่อยสลายได้ช้า ขึ้นอยู่กับเนื้อของวัสดุเหล่านั้น ว่ามีส่วนที่จุลินทรีย์สามารถใช้เป็นอาหารได้ยาก หรือง่าย และมีแร่ธาตุอาหารอยู่พอเพียงกับความต้องการของจุลินทรีย์หรือไม่ ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งวัสดุเหล่านี้ออกเป็น 2 พวก คือ
  1. เศษพืชพวกสลายตัวง่าย เช่น ผักตบชวา ต้นกล้วย ใบตอง เศษหญ้าสด เศษพืชที่อวบน้ำ เศษผัก กากเมล็ดข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว ต่างๆ เช่น ใบกระถิน ใบจามจุรี ต้น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว โสน ปอเทือง ฯลฯ 
  2. เศษพวกสลายตัวได้ยาก เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ฯลฯ ปกติเศษพืชเหล่านี้จะมี แร่ธาตุอาหารบางชนิดอยู่น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไนโตรเจน (ตารางที่ 1) ดังนั้นถ้าต้องการให้เศษพืชประเภท นี้สลายตัวได้รวดเร็วขึ้นต้องเพิ่มธาตุไนโตรเจนลงไป โดยอาจใส่ลงไปในรูปของ ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนหรือมูลสัตว์ต่างๆ ในกรณีที่ไม่มีทั้งปุ๋ยเคมีหรือมูลสัตว์ ก็ต้องหาวัสดุอื่นๆ ที่มีแร่ธาตุอาหารอยู่มากมาใช้ทดแทน ที่น่าจะหาได้ง่าย ก็ได้แก่ เศษพืชพวกที่สลายตัวได้ง่ายในข้อที่ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผักตบชวา หรือเศษหญ้าสด วิธีการใช้ก็โดยการกองสลับชั้นระหาiางวัสดุที่สลายตัวยาก กับวัสดุที่สลายตัวง่าย โดยกองเศษวัสดุที่สลายตัวยากให้หนาประมาณ 8 นิ้ว แล้วกองทับด้วยเศษพืชสลายตัวง่าย หนาประมาณ 4-5 นิ้ว เช่นนี้สลับกัน ไปเรื่อยๆ จนได้ความสูงของกองปุ๋ยตามต้องการ นอกจากชนิดของเศษพืชแล้ว ขนาดของเศษพืชก็เป็นเรื่องที่ควร ให้ความสำคัญ ถ้าเศษพืชที่นำมาหมักมีขนาดใหญ่เกินไป เช่น ต้นหรือใบของ ข้าวโพด ข้าวฟ่างที่ไม่ได้สับหรือหั่น เวลาตั้งกองปุ๋ย ภายในกองจะมีช่องว่างอยู่ มาก กองปุ๋ยจะแห้งได้ง่าย ความร้อนที่เกิดขึ้นในกองปุ๋ยกระจายหายไปได้รวดเร็ว ทำให้กองปุ๋ยไม่ร้อนเท่าที่ควร การย่อยสลายของเศษพืชจะช้า บรรดาศัตรู พืชต่างๆ ที่ติดมาก็ไม่ถูกทำลายไป ดังนั้นถ้าเศษพืชที่นำมาหมักมีขนาดใหญ่เกินไป ควรสับหรือหั่นให้มีขนาดเล็กลง แต่ก็ไม่ควรให้สั้นกว่า 2-3 นิ้ว การทำให้ เศษพืชมีขนาดเล็กลงจะทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตในชิ้นส่วนของพืชได้ทั่วถึง เมื่อเศษพืชอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นการแพร่ขยายของเชื้อก็เป็นไปได้รวดเร็ว และกองปุ๋ยร้อนระอุดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการทำปุ๋ยหมักปริมาณมากๆ การหั่นหรือการสับเศษพืชก็เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานมาก อาจเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น ได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้ามีรถแทรคแตอร์ก็โรยชิ้นส่วนพืชลงบนพื้นถนน แล้วใช้รถบดทับไปมา หรือใช้วิธีหาเศษพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เศษหญ้าผสมคลุกเคล้า เข้าไปในกองเพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ แต่ถ้ามีเศษหญ้าไม่พอก็อาจใช้ดินหรือ เศษหญ้าคลุมกองหรือเลี่ยงไปใช้วิธีกองปุ๋ยหมักในหลุมหรือบ่อหมักแทน 

2. มูลสัตว์ 

ในการตั้งกองปุ๋ยหมักนั้น ถ้าใส่พวกมูลสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มูลวัว มูลหมู มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ ผสมคลุกเคล้าลงไปด้วยแล้ว กองปุ๋ยจะร้อน ขึ้นได้รวดเร็วและย่อยสลายได้ดีกว่าการใช้เศษพืชแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะ มูลสัตว์มีสารประกอบและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์อยู่มากมาย หลายชนิด การใส่มูลสัตว์จึงเป็นการเร่งเร้าให้จุลินทรีย์ทำการย่อยเศษพืช อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในมูลสัตว์ที่ใส่ลงไปยังมีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีความ สามารถย่อยเศษพืชได้ดีอยู่มากมาย การใส่มูลสัตว์จึงเป็นการใส่เชื้อจุลินทรีย์ จำนวนมากลงไปในกองปุ๋ยนั่นเอง จุลินทรีย์เหล่านี้จะไปสมทบกับจุลินทรีย์ที่ติดมา กับเศษพืชช่วยย่อยและแปรสภาพเศษพืชให้กลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ปริมาณของมูลสัตว์ที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยหมักนั้น ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ ตามที่ต้องการ เพราะยิ่งใส่มากก็จะยิ่งทำให้เศษพืชแปรสภาพได้เร็วขึ้น แต่ไม่ ควรน้อยกว่ามูลสัตว์ 1 ส่วนต่อเศษพืช 10 ส่วน (คิดเทียบตามนำหนัก) ถ้ามีมูลสัตว์น้อยกว่านี้และเศษพืชที่ใช้ก็เป็นพวกที่สลายตัวยาก ก็ควรหาวัสดุ อื่นๆ ที่มีธาตุไนโตรเจนมากๆ เช่น ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนมาเสริมทดแทน

3. ปุ๋ยเคมี 

เศษพืชที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักหากเป็นประเภทที่สลายตัวได้ยาก เช่น ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ฟางข้าว แกลบ ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เศษกระดาษ เศษปอกระเจา เปลือกมันสำปะหลัง ไส้ปอเทือง เศษหญ้าแห้ง ฯลฯ เศษพืชพวก นี้จะมีแร่ธาตุอาหารอยู่น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์ จึงควรใส่ ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณแร่ธาตุอาหารลงไปในกองเศษพืช แร่ธาตุตัวสำคัญที่ปกติ จะมีไม่เพียงพอหรือขาดแคลนมากที่สุดในเศษพืชพวกนี้ ได้แก่

ธาตุไนโตรเจน ดังนั้นปุ๋ยเคมีที่ใช้โดยทั่วไปจึงเน้นเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเป็นหลัก เช่น ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือปุ๋ยยูเรีย สำหรับแร่ธาตุอาหารชนิด อื่นๆ นอกเหนือไปจากไนโตรเจน ปกติในเศษพืชจะมีอยู่มากพอสมควร แม้ว่าจะไม่ค่อยเพียงพอแต่การใส่แร่ธาตุเหล่านั้นเพิ่มเติมลงไปก็มักไม่ทำให้เศษ พืชสลายตัวได้รวดเร็วขึ้นเท่าใดนัก ปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจนที่จะต้องใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมา หมัก ถ้าเป็นพวกที่ย่อยสลายได้ง่ายในเศษพืชพวกนี้จะมีแร่ธาตุอาหารค่อนข้าง มากอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงไปอีก หรือถ้าจะใส่ก็ใส่ในปริมาณเล็กน้อย เพียงเสริมหรือกระตุ้นการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นเศษ พืชพวกย่อยสลายได้ยาก ก็ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนด้วย หากดูจากตารางที่ 1 เศษพืชพวกที่มีไนโตรเจนน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัมต่อเศษพืชแห้ง 100 กิโลกรัม คือพวกที่ควรจะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มเติม ส่วนปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ในกรณีที่เป็นเศษพืชพวกสลายตัวได้ยากนั้น อาจกะประมาณคร่าวๆ ว่า ถ้าเป็น ปุ๋ยยูเรียก็ใส่ในอัตราประมาณ 1.5-2.0 กิโลกรัม ต่อขนาดกองปุ๋ยที่กองเสร็จ แล้ว 2 ลูกบาศก์เมตร หรือถ้าเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตก็ใช้ประมาณ 3- 4 กิโลกรัมต่อกองปุ๋ยขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร

4. การระบายอากาศของกองปุ๋ย 

ในการตั้งกองปุ๋ยหมักนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงสภาพการ ระบายอากาศภายในกองปุ๋ย เพราะถึงแม้ว่าในกองปุ๋ยจะมีแร่ธาตุอาหารอยู่อย่าง ครบถ้วน มีความชื้นมากพอ แต่ถ้าไม่มีอากาศให้จุลินทรีย์ไช้หายใจแล้ว การ ย่อยสลายของกองปุ๋ยหมักจะเปลี่ยนสภาพไปเป็น "การย่อยสลายแบบไม่มีอากาศ" การสลายตัวของเศษพืชจะเกิดขึ้นแบบช้าๆ และมักเกิดกลิ่นเหม็น ความร้อนที่จะช่วยกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ในกองปุ๋ยก็ไม่เกิดขึ้น ลักษณะเช่นนี้ มักพบได้เสมอๆ กับกองปุ๋ยที่แน่นทึบ หรือถูกรดน้ำจนเปียกแฉะ ถ้าหากหมัก เศษพืชในสภาพนี้ กว่าเศษพืชจะแปรสภาพไปเป็นปุ๋ยหมักได้ จะใช้ระยะเวลา นาน ดังนั้นถ้าต้องการให้เศษพืชสลายตัวได้รวดเร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็นและเกิด ความร้อนในกองปุ๋ยมากพอที่จะกำจัดเชื้อโรค เมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนหรือไข่ของแมลง ที่มีอยู่แล้ว จำเป็นต้องปฏิบัติดูแลให้กองปุ๋ยมีสภาพการระบายอากาศภายในกอง ที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งก็มีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้


  1. ขนาดของกองปุ๋ย ไม่ควรตั้งกองปุ๋ยให้สูงมากนัก ถ้ากองปุ๋ยสูงมาก ส่วนล่างของกองจะถูกน้ำหนักจากส่วนบนกดทับทำให้อัดตัวแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกองปุ๋ยสลายตัวไประยะหนึ่งแล้ว เศษพืชถูกย่อยมีเนื้อ ละเอียดขึ้น กองปุ๋ยจะยุบตัวลง เนื้อปุ๋ยด้านล่างของกองก็ถูกกดจนแน่นทึบ ไม่ สามารถระบายอากาศได้ ความสูงของกองปุ๋ยที่พอเหมาะไม่ ควรเกิน 1.5- 1.8 เมตร สำหรับความกว้างของกองปุ๋ยก็อย่าให้กว้างเกินไป จะทำให้การ ระบายอากาศจากทางด้านข้างของกองไม่ดี การกลับกองก็ทำได้ไม่สะดวก ถ้าจะให้ ดีควรกว้างไม่เกิน 2.4-3.0 เมตร ในทางตรงกันข้าม กองปุ๋ยก็ไม่ควรจะเตี้ยหรือ แคบเกินไป เพราะจะทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นกระจายออกไปได้ง่าย กองปุ๋ยจะ ไม่ร้อนเท่าที่ควร อีกทั้งกองปุ๋ยก็แห้งไต้ง่าย ถ้ากองปุ๋ยแห้ง การสลายตัวจะหยุด ชะงักลง ขนาดของกองปุ๋ยไม่ควรเล็กไปกว่าขนาดประมาณ l ลูกบาศก์เมตร คือ กว้างยาวและสูงด้านละไม่ต่ำกว่า 1 เมตร 
  2. การรดน้ำกองปุ๋ย การรดน้ำขณะทำการตั้งกองปุ๋ยหมัก มีสิ่งที่ ต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษอยู่ 2 ประการคือ ต้องรดน้ำจนเศษพืชมีความชื้นพอที่ จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ และต้องไม่รดน้ำมากเกินไปจนกระทั่งการระบาย อากาศของกองปุ๋ยไม่ดี ถ้าเศษพืชนั้นแห้งและมีขนาดใหญ่ เช่น ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เศษวัชพืชแห้ง จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการระบายอากาศภายใน กองปุ๋ย แต่อาจมีปัญหาเรื่องเศษพืชไม่ค่อยเปียกน้ำ ต้องรดน้ำจำนวน มาก เศษพืชจึงจะชื้นพอ หรือบางครั้งก็มีปัญหาเรื่องกองปุ๋ยโปร่งเกินไป แต่ถ้า เศษพืชมีขนาดเล็ก ดูดซับน้ำได้ เช่น ชานอ้อย ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว กากตะกอนน้ำเสีย กากส่าเหล้า ฯลฯ การรดน้ำต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าเศษพืชเหล่านั้นมีความชื้นอยู่แล้ว ต้องรดน้ำพอแค่ให้วัสดุเหล่านั้น เปียกชื้นสม่ำเสมอ แต่อย่าให้เปียกจนแฉะ จะทำให้การระบายอากาศในกองไม่ดี นอกจากนี้แล้ว ขณะรดนำควรหลีกเลี่ยงการขึ้นไปเหยียบย่ำบนกองวัสดุ จะทำให้กองปุ๋ยแน่นทึบเกินไป เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในกรณี ของเศษพืชที่อวบและฉ่ำน้ำ เช่น ผักตบชวา หลังจากนำขึ้นจากน้ำ จะอมน้ำไว้ มาก เปียกแฉะ มีน้ำหนักมาก ถ้านำมากองปุ๋ยทันทีจะอัดตัวกันแน่น ควรปล่อย ทิ้งไว้ ให้เหี่ยวเฉาพอสมควร แล้วค่อยนำไปกอง จะช่วยให้กองปุ๋ยมีการระบาย อากาศดีขึ้น


  3. การทำช่องระบายอากาศ ถ้าวัสดุที่นำมาใช้กองมีขนาดค่อนข้าง เล็ก ซึ่งเราเห็นว่าเมื่อกองไปแล้วกองปุ๋ยจะมีลักษณะค่อนข้างทึบ หรือเมื่อเรา หมักเศษพืชไประยะหนึ่งแล้วเห็นว่าเศษพืชย่อยและอัดตัวกันแน่นมากขึ้น เกรงว่าการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยไม่เพียงพอก็อาจช่วยเพิ่มระบบระบาย อากาศของกองปุ๋ยได้โดยวิธีง่ายๆ กล่าวคือ เมื่อเราจะเริ่มตั้งกองปุ๋ยหรือจะตั้งกอง ปุ๋ยใหม่ หลังจากการกลับกอง ก็หาไม้มาหลายๆ ลำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของลำไม้ไผ่ประมาณ 3-4 นิ้ว มาปักตั้งไว้บนพื้นดินที่จะตั้งกองปุ๋ย โดยกะว่า เมื่อตั้งกองไปแล้ว ลำไม้ไผ่จะกระจายอยู่ทั่วๆ กอง แล้วจึงทำการตั้งกองปุ๋ย 
  4. การกลับกองปุ๋ย หลังจากตั้งกองไประยะหนึ่งแล้ว ควรกลับกอง ปุ๋ย วิธีกลับก็โดยการคุ้ยกองปุ๋ยลงมาทั้งหมด เกลี่ยผสมคลุกเคล้ากัน แล้วนำ วัสดุทั้งหมดกลับตั้งเป็นกองใหม่ในรูปทรงเดิม โดยพยายามกลับเอาเศษพืชที่เคย อยู่ด้านนอกของกองให้กลับเข้าไปอยู่ด้านในของกอง การกลับกองปุ๋ยจะทำให้สภาพของกองปุ๋ยโปร่งขึ้น การระบายอากาศดี ขึ้น รวมทั้งเป็นการหมุนเวียนเอาวัสดุด้านนอกของกองที่ยังไม่สลายตัวให้เข้า ไปรับความร้อนภายในกองและช่วยกำจัดหนอนตัวอ่อนของแมลงวันที่อาจเกิดขึ้น บริเวณขอบนอกของกอง ขณะเดียวกันก็เป็นการผสมคลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากัน มีความชื้นสม่ำเสมอทั้งกอง การกลับกองมีความสำคัญมากต่อการแปรสภาพของกองปุ๋ย ยิ่ง สามารถกลับกองได้บ่อยครั้ง จะยิ่งช่วยให้เศษพืชแปรสภาพไปเป็นปุ๋ยหมักได้เร็ว ขึ้น เช่นการกลับกองทุกๆ 3-5 วัน หรือทุกอาทิตย์ จะทำให้เศษพืชย่อย สลายและแปรสภาพได้อย่างรวดเร็ว แต่การกลับกองเป็นขั้นตอนที่สิ้นเปลืองแรงงาน อย่างมาก ดังนั้นถ้าไม่มีความจำเป็นต้องรีบใช้ปุ๋ยหมักในระยะเวลาอันสั้น เราก็สามารถลดจำนวนครั้งหรือความถี่ในการกลับกองปุ๋ยลงได้ตามเวลาหรือแรงงาน ที่มีอยู่ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้มีการกลับกองสักประมาณ 3-4 ครั้ง คือกลับกองครั้งแรกเมื่อประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มตั้งกองปุ๋ย ครั้งที่สอง เมื่อประมาณ 1 5 วัน หลังจากกลับกองครั้งแรก หลังจากนั้นก็อาจกลับกอง ทุกๆ 20 วัน จนปุ๋ยสามารถนำไปใช้ได้

    เมื่อตั้งกองเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ก็ถอนลำไม้ไผ่ออก กองปุ๋ยของเราก็จะ มีช่องระบายอากาศตามที่ต้องการ (ดังภาพ) ก่อนถอนลำไม้ไผ่ควรโยกไม้ ไปรอบๆ จะทำให้ช่องระบายอากาศคงรูปได้ดีขึ้น ไม่ยุบตัว ควรทำช่องระบาย อากาศเช่นนี้ทุกครั้งที่มีการกลับกองปุ๋ย
5. ความชื้นของกองปุ๋ย
จุลินทรีย์ที่จะช่วยในการสลายวัสดุให้กลายเป็นปุ๋ยนั้น ต้องอาศัยน้ำ หรือความชื้นในการดำรงชีพ วัสดุที่นำมากองจึงต้องเปียกชื้น หรือต้องรดน้ำ ให้ การรดน้ำก็ต้องระมัดระวังพอสมควร โดยต้องรดน้ำให้อยู่ในระดับที่ จุลินทรีย์ ในกองปุ๋ยสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นั่นคือรดน้ำพอแค่ให้เศษพืช ในกอง "เปียกชื้น" ไม่เปียกจนแฉะ ส่วนใหญ่แล้วเศษพืชที่นำมาใช้มักจะแห้ง เกินไปเช่น เศษหญ้าแห้ง แกลบ ซังข้าวโพดแห้ง เมื่อนำมาตั้งกอง เศษพืชมัก ไม่ค่อยดูดซับน้ำ จึงอาจต้องรดน้ำให้มากเป็นพิเศษในวันแรก อีกสองสามวันต่อมา ก็ต้องตรวจตราเลิกกองเศษพืชขึ้นดูว่าเศษพืชด้านในของกองเปียกน้ำหรือ มีความชื้นพอเพียงหรือไม่ ถ้ายังชื้นไม่พอต้องรดน้ำเพิ่มเติมจนเปียกชื้นโดย ทั่วถึงกัน จากนั้นก็เพียงคอยตรวจตราเป็นระยะๆ ดูแลให้กองปุ๋ยชื้นอยู่เสมอ ความชื้นที่พอดีของกองปุ๋ยอยู่ในช่วงประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ซึ่งเราอาจกะประมาณคร่าวๆ ได้โดยวิธีใช้มือล้วงไปหยิบเอาเศษพืช ในกองปุ๋ยออกมาแล้วกำบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำไหลซึมออกมาตามซอกนิ้วไหลเป็น ทาง แสดงว่ากองปุ๋ยแฉะเกินไป ไม่ควรรดน้ำ แต่ควรทำการกลับกองปุ๋ยให้บ่อย ขึ้น หรือหาวัสดุที่แห้งดูดซับน้ำได้ดี เช่น ขี้เลื่อย เศษพืชแห้งผสมคลุกเคล้าลง ไป ถ้าบีบดูแล้วมีน้ำซึมออกมาตามซอกนิ้ว แต่ไม่ถึงกับไหลเป็นทางแสดง ว่าความชื้นพอดีแล้ว แต่เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาเลย แสดงว่าเศษพืชนั้น แห้งเกินไป ต้องรดน้ำเพิ่มเติม การตั้งกองปุ๋ยในที่โล่งแจ้งในฤดูฝน สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่ง คือ สภาพของฝนที่ตกหนัก ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ภายในกองปุ๋ยเปียกแฉะ ได้ ดังนั้นถ้าเป็นช่วงที่มีฝนตกมากๆ เราอาจป้องกันไม่ให้กองปุ๋ยเปียกแฉะโดย การปรับแต่งด้านบนของกองให้มีลักษณะโค้งมนเป็น รูปครึ่งวงกลม การกองใน ลักษณะนี้ ฝนที่ตกลงบนกองปุ๋ยส่วนใหญ่จะไหลออกไปทางด้านข้างๆ ของ กอง ทำให้ด้านในของกองไม่เปียกแฉะ แต่ถ้าเราหมักกองปุ๋ยไประยะหนึ่ง จนเศษพืชเปื่อยยุ่ยมากแล้ว กองปุ๋ยจะดูดซับน้ำฝนได้ง่าย จึงควรหาวัสดุมาคลุม ด้านบนของกองไว้ ไม่ให้เปียกฝนจนแฉะ

สำหรับเรื่อง ไม่รู้สิ่งนี้หมักให้เหนื่อยยังไง๊! ก็ไม่เป็นปุ๋ยหมัก มาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันแล้วเนาะ ว่ามีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง หากจะพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ ปุ๋ยหมัก,การแปรสภาพของเศษพืชไปเป็นปุ๋ยหมัก,วัสดุที่ใช้หมักปุ๋ยชีวภาพ เราคงต้องดูกันยาวๆ มีหลายบทความที่ควรค่าแก่การนำมาแชร์ บอกต่อกัน เพื่อเป็นแนวทาง และเส้นทางให้เราเลือกและสามารถนำไปสานต่อกันได้อีก สำหรับครั้งนี้คงต้องขอตัวไปต่อยอดในเรื่องราวอื่นๆ ก่อนนะคะ ได้ผลยังไง หรือมีเทคนิค สาระดีๆอะไรเพิ่มเติมก็จะมาบอกเล่าให้ฟังเช่นเคยจ้า ฝากติดตามกันด้วยนะคะ
ลำไย ลำพูน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น