ยุคสมัยที่กำลังปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อเราโดยตรง ที่จะต้องปรับตัวให้ทัน ไม่ว่าเราจะยืนอยู่ ณ จุดๆ ใดของสังคม เราก็ต้องมีการพัฒนา และหมั่นศึกษาเพิ่มพูลความรู้อยู่ตลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บไว้เป็นพื้นฐาน ข้อมูลสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการทำงาน ดั่งเช่นความรู้ที่เรากำลังแชร์ให้เห็นในวันนี้เรื่อง ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก ก็เป็นสิ่งหนึ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษามหาข้อมูลด้านนี้จำเป็นต้องรู้ เพราะกำลังจะแชร์ต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เกษตรอินทรีย์, การทำปุ๋ยหมัก, เรื่องของดิน แน่นอนถ้าคุณเป็นคนที่กำลังสนใจเรื่องนี้ บทความนี้น่าจะให้สิ่งที่คุณต้องการได้ในระดับนึงเลยจ้า เดี๋ยวเราไปเริ่มกันเลยเนาะ
หลังใส่ปุ๋ยหมัก เปลี่ยนแปลงขนาดนี้เลยเหรอ |
หลังใส่ปุ๋ยหมัก เปลี่ยนแปลงขนาดนี้เลยเหรอ
เราจะแบ่งประโยชน์ของปุ๋ยหมักเป็น 2 ลักษณะ
1. ปุ๋ยหมักช่วยปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุมีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพ หรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ถ้าดินเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น อาทิเช่น ดินเหนียว เป็นต้น ปุ๋ยหมักก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขึ้น
ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น
คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของปุ๋ยหมัก เพราะดินที่มีลักษณะร่วนซุย ดินระบายน้ำได้ดี ดินระบายอากาศได้ดี ก็จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหาร และน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย, ดินร่วนปนทราย เป็นต้น ดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุอยู่น้อย เป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยหมัก ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านี้สามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ
นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ด หรือการไหลซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป
2. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ คุณสมบัติถือเป็นคุณสมบัติที่ดี แต่ในมุมของคนปลูกเพื่อขาย ก็จะส่งผลให้ระยะสั้น หรือระยะที่กำลังเปลี่ยนสภาพดิน จะทำให้ผลิตไม่ได้ตามเป้าหมายนั่นเอง สำหรับคนที่กำลังปรับเปลี่ยนคงต้องใจเย็นๆ หน่อย เพราะถ้าอยู่ตัวแล้ว สิ่งดีๆ จะตามมาเองจ้า
โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ
- ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซ็นต์
- ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซ็นต์
- โพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย
ถึงแม้ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยหมักมีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง 3 ธาตุที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีกเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มี หรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น แร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้นพืชต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้นเอง
นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าใน แง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่างเช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหาร พืชที่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ำฝนหรือน้ำชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ ของดินไว้อีกทางหนึ่งเป็นต้น จากคุณสมบัติ ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมัก จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มขันเหมือนปุ๋ยเคมี แต่ก็มีลักษณะ อื่นๆ ที่ช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี
มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่า หลังใส่ปุ๋ยหมัก เปลี่ยนแปลงขนาดนี้เลยเหรอ! เป็นยังไง และมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น